เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
ข้อมูลบรรณานุกรม  #1149908    

ความนิยม
ประเภทวัสดุ หนังสือ
ชื่อเรื่องต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา / ศดานนท์ วัตตธรรม
Dewey Call #362.63 ศ14ต 2565
ผู้แต่งศดานนท์ วัตตธรรม
หัวเรื่องผู้สูงอายุ--วิจัย
 ผู้สูงอายุ--นโยบายของรัฐ--วิจัย
 ผู้สูงอายุ--การดูแล--วิจัย
 การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ--วิจัย
พิมพลักษณ์ 2565
ชื่อเรื่องต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา / ศดานนท์ วัตตธรรม
Dewey Call #362.63 ศ14ต 2565
ผู้แต่งศดานนท์ วัตตธรรม
พิมพลักษณ์ 2565
หมายเหตุดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(สาขาวิชาการพัฒนาที่ยั่งยืน))--มหาวิทยาลัยทักษิณ,2565
หัวเรื่องผู้สูงอายุ--วิจัย
 ผู้สูงอายุ--นโยบายของรัฐ--วิจัย
 ผู้สูงอายุ--การดูแล--วิจัย
 การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ--วิจัย
ลักษณะทางกายภาพ309 หน้า
LDR 03684nam a2200217 4500
005 20230628153050.0
008 230627s2565 th tha d
040__‡aSongkhla Rajabhat University
08204‡a362.63‡bศ14ต 2565
1000_‡aศดานนท์ วัตตธรรม
24510‡aต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา /‡cศดานนท์ วัตตธรรม
260__‡c2565
300__‡a309 หน้า
502__‡aดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(สาขาวิชาการพัฒนาที่ยั่งยืน))--มหาวิทยาลัยทักษิณ,2565
520__‡aงานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ การค้นหาศักยภาพที่นำไปสู่การสร้างต้นแบบ การจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา การออกแบบต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และการประเมินต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องของเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จำนวน 6 คน และเครือข่ายคณะทำงาน จำนวน 9 หน่วยงาน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 389 คน ในการค้นหาศักยภาพนำไปสู่การสร้างตันแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ใช้แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 33 คน ในการออกแบบตันแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง และใช้แบบประเมินเก็บข้อมูลจากนักวิซาการหรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการ เมืองผู้สูงอายุ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน ในการประเมินต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ผลการวิจัย พบว่า1) ปัจจัยทั้ง 4 ด้านที่นำมาพิจารณาไปสู่การสร้างต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา คือ 1.1) จุดแข็ง 1.2) จุดอ่อน 1.3) โอกาส 1.4)อุปสรรค โดยที่จุดแข็งที่พบเห็น ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลมีนโยบายและแนวทางเพื่อยกระดับเมืองผู้สูงอายุที่ชัดเจนด้วยตัวผู้สูงอายุเอง จุดอ่อน ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณไม่ครอบคลุมผู้สูงอายุทั้งหมดในพื้นที่และขาดระบบเทคโนโลยีของเมือง ส่วนโอกาส ได้แก่ หน่วย งานภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งและร่วมเป็นพันธมิตรที่ดีร่วมสร้างเมืองผู้สูงอายุ และอุปสรรคที่พบเห็น ได้แก่ ความขาดรูปแบบของศักยภาพของท้องถิ่นในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างระบบและกลไกประสานงานการจัดการเมืองผู้สูงอายุโดยรวม 2) รูปแบบการบริหารจัดการเมืองผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองเขารูปช้างให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วยภารกิจที่จำเป็น 4 ประการ คือ 2.1) จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน (เช่น บริการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ถนนคนเดิน ห้องน้ำ จุดพักผ่อนและที่พัก ช่อง ทางพิเศษ การติดตั้งระบบสื่อสารสาธารณะและความปลอดภัย เป็นต้น) 2.2) ด้านเศรษฐกิจ จัดให้มีกิจกรรมอบรมอาชีพผู้สูงอายุ พัฒนาทักษะ การจ้างงาน เปิดช่องทางจำหน่ายสินค้าผู้สูงอายุและจัดสรรสินเชื่อผู้สูงอายุ 2.3) ด้านสังคม จัดให้มีการนำเสนอกิจกรรมสาธารณ ประโยชน์ที่หลากหลายเพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น เสริมความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเปิดช่องทางการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ และ 2.4) ด้านสาธารณสุข จัดให้มีการพัฒนากิจกรรมด้านการรักษาพยาบาลที่หลากหลาย มีมาตรฐาน เหมาะสม ทันสมัยและบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดสวนสุขภาพ การควบคุมอาหารปลอดภัย และบริการสุขภาพเคลื่อนที่ ทั้งหมดนี้ ดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการจัดการเมืองผู้สูงอายุ ที่มีเทศบาลเป็นหน่วยงานหลัก และมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายเป็นที่คณะที่ปรึกษา ดำเนินงานตั้งแต่กระบวนการวางแผนและจัดทำงบประมาณ การจัดตั้งองค์การโดยเน้นขับเคลื่อนงานด้วยศูนย์ผู้สูงอายุในพื้นที่ การนำของผู้บริหารที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม และการควบคุมร่วมประเมิน ผลที่เกิดขึ้นไปพร้อมกัน 3) แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นข้างต้นนี้ได้รับการศึกษาและประเมินโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับเชิญ 5 คน ซึ่งภารกิจที่เสนอในการดำเนินการ 4 ด้านนั้น ได้รับการพิจารณาว่าเหมาะสม
650_7‡aผู้สูงอายุ‡xวิจัย
650_7‡aผู้สูงอายุ‡xนโยบายของรัฐ‡xวิจัย
650_7‡aผู้สูงอายุ‡xการดูแล‡xวิจัย
650_7‡aการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ‡xวิจัย
850__‡aSKRU
เลือกห้องสมุด :
 บาร์โค้ดเลขหมู่/เล่มที่Collectionห้องสมุดสาขาสถานที่จัดเก็บสถานะ
202272362.63 ศ14ต 2565วิทยานิพนธ์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา หนังสือศูนย์ภาษา อ.บรรณราชนครินทร์ ชั้น 4   อยู่บนชั้น
 
เพิ่มความเห็น
ชื่อของคุณ
ความเห็น
เพิ่มบทวิเคราะห์
ชื่อของคุณ
เนื้อหา
เพิ่มรายการ
ชื่อเรื่อง
สร้างใน
เก็บในโฟลเดอร์เดียวกันทุกรายการ
สร้างโฟลเดอร์
ชื่อโฟลเดอร์
ผลลัพธ์การเพิ่มรายการ
สงวนลิขสิทธิ์ © 2555, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงวนสิทธิ์ทั้งหมด